วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562

(3rd Learning Record) วันศุกร์ ที่ 16 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2562

วันนี้อาจารย์ให้เรียนพร้อมกันทั้ง 2 กลุ่มเรียน แล้วให้แต่ละกลุ่มนั่งเป็นวงกลมเพื่อหาข้อมูลของแต่ละกลุ่มที่ได้เรียนเมื่อคาบที่แล้ว กลุ่มเราได้เรื่องเสียง 


เรื่องเสียง (กลุ่ม 6) 

• ที่มาและแหล่งกำเนิด 
เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เกิดได้ยินเสียง 
เสียงเป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล


• คุณสมบัติของเสียง
เสียงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลาง ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเหมือนคลื่น คือ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน


• ประโยชน์ของเสียง
1.ช่วยในการติดต่อสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรศัพท์ การพูดคุยกัน
2.ช่วยทำให้เกิดความบันเทิง เช่น เสียงดนตรี เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
3.ประดิษฐ์เครื่องมือ เช่น เครื่องฟังการเต้นของหัวใจ


• ข้อจำกัดหรือโทษ
1.)การสูญเสียการได้ยิน มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เนื่องจากรับฟังเสียงดังมากๆ ในระยะเวลา ไม่นานนัก ทำให้หูอื้อ ถ้าหยุดพักการได้ยินก็จะคืนสู่สภาพปกติได้
1.2 การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร เกิดจากการที่ต้องรับฟังเสียงดังเป็นระยะ เวลานาน ทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย รับฟังเสียงไม่ได้ เกิดหูตึง หูพิการ
2.) ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
2.1 เกิดความรำคาญ หงุดหงิด เกิดความเครียด และเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ง่าย
2.2 รบกวนการนอนหลับ
2.3 ทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
2.4 ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
2.5 เป็นอุปสรรคในการทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้




ให้โพสต์ลงในกระดานความรู้เป็นงานกลุ่ม



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง






⏵⏵⏵จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มหาของเล่นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องที่แต่ละกลุ่มได้ โดยห้ามซ้ำกัน
  • งานกลุ่ม 1 ชิ้น
  • งานเดี่ยว 1 ชิ้น
เพื่อที่จะนำไปทำเป็นสื่อการเรียนรู้สอนเด็ก


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



คำศัพท์น่ารู้

1. Theorist    นักทฤษฎี
2. Activities  กิจกรรม
3.development การพัฒนา
4.sound เสียง
5.mechanical เครื่องกล






🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼 


ประเมินตนเอง ⟶  วันนี้ได้ตื่นเต้นที่ได้เรียนรวม พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างสนุกสนาน
ประเมินเพื่อน ⟶ เพื่อนกระตือรือร้นในการทำงานทุกกลุ่ม ของเล่นแต่ละกลุ่มน่าสนใจมากค่ะ
ประเมินอาจารย์ ⟶ หลังจากทีมีการนำเสนองานกลุ่มไปอาจารย์มีการพูดสรุปเนื้อหาที่แต่ละกลุ่มได้โพสต์ลง เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่กระชับมากขึ้น เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

(2nd Learning Record) วันพุธ ที่ 14 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2562

วันนี้เป็นการเรียนชดของวันที่ 23/8/2562

อาจารย์ได้พูดถึงทฤษฎีของเพียเจท์ ที่เป็นการพัฒนาเด็กอย่างเป็นลำดับขั้นตอนตามพัฒนาการหรือตามช่วงอายุ ว่าในแต่ละขั้นเป็นแบบไหน เพื่อที่เวลาเราจะไปสอนเด็กเราจะต้องรู้และจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม 

                  ขั้นอนุรักษ์ คือ การเรียนรู้จากง่ายไปหายาก แล้วค่อยๆเพิ่มความซับซ้อนในเนื้อหา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทฤษฎีเพียเจต์ 4 ขั้น

จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้เลือก 1 เรื่อง เพื่อนำเสนอในกระดานความรู้ในคาบเรียนถัดไป
- แสง
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง- อากาศ
- น้ำ 
- เสียง
- เครื่องกล 
- หิน ดิน ทราย 

***เนื้อหาให้เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก***



หัวข้อที่ต้องศึกษามีดังนี้

1. ที่มา แหล่งกำเนิด
2. ลักษณะ คุณสมบัติ
3. การดูแล การรักษา
4.ประโยชน์และโทษ



⏵⏵⏵จากนั้นอาจารย์ให้ทำงานในห้อง แสดงความรู้สึกต่อรายวิชา พิมพ์ลงไปในกระดานความรู้ในกลุ่มของตัวเองเป็นรายบุคคล 


นางสาว สุพัตรา บุญจำเนียร 
🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻
ในรายวิชานี้จะเรียนสาระเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเด็ก สิ่งที่เด็กรู้จัก สิ่งที่เด็กเรียนรู้ได้ง่าย ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ รู้จักการทดลอง รู้จักสังเกต ค้นคว้าหาคำตอบ และสามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล 

สรุปหลังจากที่อาจารย์ได้สอนไปในคาบเรียน ได้เรียนรู้การทำงานของสมองโดยการปรบมือที่อาศัยสื่อต่างๆ ยกตัวอย่างเพลงช้าง มาร้องประกอบท่าทางเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน จะเปลี่ยนท่าทางจากง่ายไปหายากอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งสมองจะรับรู้จากการได้ยินและนำไปสู่การทำงานของประสาทสัมผัส และได้เรียนรู้ความหมายของพัฒนาการ การเชื่อมโยงไปถึงทฤษฎีของเพียเจท์ ที่มีทั้งหมด 4 ลำดับขั้น เป็นการเรียนรู้ตามช่วงอายุโดยเรียนรู้จากนามธรรมเป็นรูปธรรม และได้เรียนรู้ถึงการจัดประสบการณ์ให้เด็ก วิธีการของเด็กให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ส่วนการจัดประสบการณ์ให้เด็กก็จะต้องเป็นเนื้อหาสาระที่เป็นธรรมชาติรอบตัวเด็กให้เด็กเข้าใจง่ายเพื่อที่จะให้เด็กเกิดการเรียนรู้และคิดอย่างมีเหตุผลได้ด้วยตนเอง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลูกศรดุ๊กดิ๊ก


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
คำศัพท์น่ารู้
1.origin แหล่งกำเนิด
2.benefit ประโยชน์
3.blame โทษ
4.qualification คุณสมบัติ
5.content เนื้อหา




🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

ประเมินตนเอง ➝  วันนี้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานหาข้อมูล 
ประเมินเพื่อน ➝ เพื่อนร่วมกันทำงานทุกกลุ่มเลยค่ะ
ประเมินอาจารย์ ➝ อาจารย์ตรงต่อเวลา สอนเนื้อหาเข้าใจง่าย แล้วก็ให้ข้อเสนอแนะเพื่อไปแก้ไขปรับปรุง

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

(1st Learning Record) วันพุธ ที่ 7 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2562



วันนี้เรียนเป็นการเรียนวันแรกของรายวิชานี้ มีการเรียนรวมทั้ง 2 กลุ่มเรียน เพื่อมาอภิปราย ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดจากที่เคยเรียนกับอาจารย์ในรายวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาคเรียนที่แล้ว เพื่อหาแนวทางหรือวิธีแก้ไขการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล้วร่วมกันกำหนดข้อตกลงกันในชั้นเรียน


หลักสำคัญของการเรียนการสอน
✿ มีคุณธรรม จริยธรรม
✿ มีความรู้
✿ มีความเป็นผู้นำ ผู้ตาม
✿ มีการใช้เทคโนโลยี
✿ การนำไปประยุกต์ใช้
✿ การจัดการความรู้


จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายรายวิชา ว่าในรายวิชานี้จะต้องเรียนอะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง แล้วอาจารย์ก็ให้สร้าง Blogger สำหรับรายวิชานี้ แล้วเอาตัวอย่างมาให้ดูเพื่อเป็นแนวทางในการทำที่ถูกต้อง มีรายละเอียดของบล็อกต่างๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
คำศัพท์น่ารู้
1. article บทความ
2. research วิจัย
3. insrtuction คำแนะนำ
4.solve problem แก้ปัญหา
5.debate การอภิปราย



🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼

ประเมินตนเอง ➝ วันนี้ตั้งใจเรียน มาเรียนได้ตรงเวลา
ประเมินเพื่อน ➝ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ ➝ อาจารย์มีความพร้อมในการสอน แล้วก็เข้าใจนักศึกษา ร่วมรับฟังข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็น แล้วร่วมกันแก้ปัญหาในชั้นเรียน