สรุปบทความ
การสอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight) คือ
การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์
เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ
เป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย
ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่คนเราแล้ว
คนเรายังมีความต้องการเครื่องใช้ที่ทำให้เกิดการดำรงชีวิตสะดวกสบาย มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้แก่เรา
ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ
และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น
การสอนเรื่องไฟฉายมีประโยชน์ต่อเด็ก คือ
เด็กได้มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้เรื่องไฟฉาย
ได้แก่ แสงฉายมาจากไหน ทำไมคนเราต้องใช้แสงฉาย เมื่อได้ความรู้มาแล้ว
เด็กจะได้ฝึกหัดอธิบายเรื่องที่ศึกษามา
สำหรับเด็กปฐมวัยควรฝึกด้วยวิธีง่ายๆจากธรรมชาติเบื้องต้นก่อน คือ การพูด
บอกเล่าสิ่งได้เห็น ได้ฟัง ได้สัมผัสมา เป็นต้น
·
เด็กได้ทำการทดลองใช้ไฟฉาย
เช่น เปิดสวิทซ์ไฟที่กระบอกไฟ ส่องแสงไฟฉายในที่มืดจะเกิดอะไรขึ้น เป็นต้น
การที่เด็กได้เป็นผู้ปฏิบัติทดลองสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
ย่อมทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อเกิดการเรียนรู้
·
เด็กได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีคือไฟฉายและวิธีการต่างๆ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสำรวจตรวจสอบ จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆต่อไป
·
เด็กจะเป็นผู้ที่มีความสามรถในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบตามข้อมูลหลักฐานและองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล
เนื่องจากเด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการกระทำในสภาพจริง เช่น
การใช้ไฟฉายส่องผ่านในที่มืดจะเห็นวัตถุต่างๆ เพราะมีแสงจากไฟฉาย
หรือแสงที่ส่องออกไปเดินทางเป็นเส้นตรง
แสงจากไฟฉายมีระดับความร้อนแตกต่างจากแสงดวงอาทิตย์
แสงไฟฉายต้องอาศัยวัตถุที่บรรจุลงในกระบอกไฟฉายจึงจะเกิดแสง เป็นต้น
·
เด็กจะเป็นผู้มีความสามารถในการนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเที่ยงตรง
มีเหตุผลกับเพื่อนร่วมงาน และตอบคำถามได้
เนื่องจากได้รับการฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์
โดยมีเรื่องไฟฉายเป็นสาระนำทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่
ทักษะสังเกต
(แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีสีเหลืองอ่อน แสงไฟฉายจะสว่างหรือดับ
เกิดจากคนเราเป็นผู้ กระทำบังคับสวิทช์ เปิดปิดเอง เป็นต้น)
ทักษะจำแนกประเภท
(จัดกลุ่มไฟฉายตามขนาดใหญ่ เล็ก สี รูปแบบ ฯ)
ทักษะการวัด
(วัดความยาวของกระบอกไฟฉาย นับจำนวนถ่านไฟฉาย)
ทักษะการสื่อความหมาย
(อธิบายเหตุที่เกิดแสง วาดภาพไฟฉาย และลักษณะของลำแสง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น