กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2562
แนวคิดในการจัดงาน
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีและของประเทศ จัดขึ้นเพื่อร่วมเทิด
พระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรม
จากความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ แสดงถึงศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่นำสมัย สามารถสร้างความตื่นเต้น
สร้างแรงบันดาลใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย โดยเป็นโอกาสที่ประชาชนและเยาวชนทั่วไปจะได้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ได้รับประสบการณ์
และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบที่สนุกสนาน ซึ่งจะก่อให้เกิดทัศนคติเชิงบวก กระตุ้นการคิดและการตั้งคำถาม และนำไปสู่การเป็นผู้รักการ
เรียนรู้ตลอดชีวิตทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
รูปแบบของกิจกรรมในงานเป็นคล้าย เทศกาลวิทยาศาสตร์ (science festival) ในหลายประเทศ คือประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในรูปแบบทันสมัยที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วม (interactive exhibition) โดยเน้นหัวข้อที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (New S-Curve) นอกจากนี้ยังนำเสนอประเด็นการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตโลก
เช่น ภาวะโลกร้อน ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และอื่นๆ โดยเป็นการรวมพลังของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อจัดแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
ผลงานการวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ การประกวดและแข่งขันทางวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนและประชาชน กิจกรรมการเรียนรู้แบบ
Hands-on ในแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับทุกช่วงวัย การประชุม สัมมนา อภิปราย ฝึกอบรม ทางวิทยาศาสตร์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการแสดงสินค้าทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การจัดงานในปี 2562 ภายใต้แนวคิดหลัก (Theme) “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและนานาชาติ
3. เพื่อกระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย
4. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีพด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
วันเวลาและสถานที่
ระหว่างวันที่ 16-25 สิงหาคม 2562
เปิดให้บริการระว่างเวลา 9.00 – 19.00 น. (เข้าชมฟรี)
ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค (Hall 6-12) เมืองทองธานี
นิทรรศการประกอบด้วย
1. พระอัจฉริยภาพ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระอัจฉริยภาพพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์
2. นิทรรศการกลาง
นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือมีความสำคัญ มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศในอนาคต
ซึ่งควรสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและเยาวชน โดยในปี 2562 มีนิทรรศการพิเศษ อาทิ
- นิทรรศการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเรื่องพลาสติก
- นิทรรศการปีแห่งตารางธาตุสากล
- นิทรรศการนิทรรศการมหัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์เรื่อง Nikola Tesla ยอดนักวิทย์ผู้คิดเปลี่ยนโลก
- นิทรรศการ ๕๐ ปี Moon landing
- นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ
- นิทรรศการข้าว
- นิทรรศการพื้นที่นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ สู่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ Engineering space
3. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในแนวทางสะเต็มศึกษา
- กิจกรรมห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับครอบครัวและเยาวชน
- กิจกรรมลานประกวดแข่งขัน เครื่องบินกระดาษพับ
- กิจกรรมลานปลูกฝังปัญญาเยาว์ สำหรับพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของเด็กก่อนวัยเรียน
ในโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
- ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
- การแสดงทางวิทยาศาสตร์
- การประกวดแข่งขันตอบปัญหา มอบรางวัล
4. นิทรรศการศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
- แสดงผลงานความก้าวหน้าด้านการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกิจการด้านต่าง ๆ
ของประเทศ จัดแสดงโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในประเทศไทย จากสถาบันวิจัย สมาคม สถาบันการศึกษา และกระทรวง ทบวง กรม
- ผลงานวิจัยของหน่วยงานวิจัยของกระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ กระทรวงกลาโหม และอื่นๆ
- โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยคลินิกเทคโนโลยีของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย
- ผลงานชนะเลิศเครื่องจักร เครื่องยนต์ และนวัตกรรมจากการประกวดเทคโนโลยีของไทย
- ผลงานดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย
- การเชิดชูเกียรติผู้บำเพ็ญประโยชน์ในสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับรางวัลพระราชทานประจำปี รวมทั้งผู้เป็นบุคคลตัวอย่างด้านวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นต้น
5. การประชุม สัมมนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ประกอบด้วยการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศและภูมิภาค
|
ภาพบรรยากาศภายในงาน |
😊😊😊บันทึกของฉัน😊😊😊
วันนี้อาจารย์ได้ให้ไปดูงานวันวิทยาศาสตร์ ได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ต่างๆนานา เปิดประสบการณ์ใหม่ ได้เห็นนวัตกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย ได้แนวคิดและความรู้จากซุ้มต่างๆภายในงาน แล้วก็ได้ลองเล่นของเล่นวิทยาศาสตร์ความเฉื่อย
เล่น..เรียน..รู้
ในของเล่นไทย
ของเล่นที่เกี่ยวกับความเฉื่อย
ของเล่นที่เกี่ยวกับความเฉื่อยได้แก่ กำหมุน หรือบางพื้นที่เรียก กังหันหมุน ชื่อกำหมุน มาจากวิธีการเล่น คือ กำที่กระบอกไม้ไผ่แล้วดึงเชือกให้ใบพัดหมุน กำหมุนประกอบด้วยใบพัดและลำตัวทำจากกระบอกไม้ไผ่ กะลามะพร้าว หรือลูกยางโดยมีเชือกผูกกับแกนไม้เมื่อดึงเชือกใบพัดจะหมุนอย่างต่อเนื่อง กำหมุน หรือกังหันหมุนมีหลายชนิดโดยเรียกตามวัสดุที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องเล่น เช่น หากทำมาจากไม้ไผ่ก็เรียกว่า กำหมุนไม้ไผ่ หรือกังหันหมุนไผ่ หากทำมาจากลูกยางเรียกว่า กำหมุนลูกยาง หรือกังหันหมุนลูกยาง เป็นต้น
ภาพภายในงาน
🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺
คำศัพท์น่ารู้
1.inertia ความเฉื่อย
2.museum พิพิธภัณฑ์
3.robot หุ่นยนต์
4.innovation นวัตกรรม
5.modern ทันสมัย
ประเมินตนเอง ⟶ วันนี้รีบไปแต่เช้า ตื่นเต้นกับการไปดูงานมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่ไป
ประเมินเพื่อน ⟶ เพื่อนก็ตื่นเต้นและต่างให้ความสนใจในกิจกรรมภายในงาน
ประเมินอาจารย์ ⟶ อาจารย์ได้ให้มาศึกษานอกสถานที่รู้สึกว่าดีมากค่ะ