วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Teaching


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูน วิทยาศาสตร์ ดุ๊กดิ๊ก bye


สรุปคลิปวิดีโอ เพื่อนครู : ขยะแปลงกาย

คุณครูเยาวนารถ เลาหบรรจง เป็นครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลกระบี่                        เน้นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ในการจัดประสบการณ์คุณครูเยาวนารถเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองและคุณครูได้ใช้กิจกรรมแปลงกายโดยการบูรณาการคณิตศาสตร์ ด้านจำนวน ด้านรูปทรงเข้ากับวิทยาศาสตร์โดยการให้เด็กสังเกตเปรียบเทียบจำแนกและที่สำคัญคุณครูเน้นเทคโนโลยี หลังจากนั้นคุณครูให้เด็กๆดูของบนโต๊ะที่คุณครูเตรียมมา คือ วัสดุเหลือใช้ หลังจากนั้นคุณครูถามเด็กว่า วัสดุเหลือใช้นำไปทำอะไรได้บ้าง เด็กก็จะยกมือตอบทีละคนและคุณครูก็ให้เด็กๆลงมือประดิษฐ์ของเล่นของใช้ตามจินตนาการของเด็ก เมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เด็ก มีความกล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตัวเองกล้านำเสนอในสิ่งที่ตนเองคิด สามารถเป็นผู้นำผู้ตามได้ดี ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กให้เด็กได้ลงมือกระทำและที่สำคัญต้องส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทั้ง 4 ด้าน


⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐⭐

Article


สรุปบทความ

การสอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight) คือ การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์ เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ เป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่คนเราแล้ว คนเรายังมีความต้องการเครื่องใช้ที่ทำให้เกิดการดำรงชีวิตสะดวกสบาย มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้แก่เรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น
การสอนเรื่องไฟฉายมีประโยชน์ต่อเด็ก คือ
เด็กได้มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้เรื่องไฟฉาย ได้แก่ แสงฉายมาจากไหน ทำไมคนเราต้องใช้แสงฉาย เมื่อได้ความรู้มาแล้ว เด็กจะได้ฝึกหัดอธิบายเรื่องที่ศึกษามา สำหรับเด็กปฐมวัยควรฝึกด้วยวิธีง่ายๆจากธรรมชาติเบื้องต้นก่อน คือ การพูด บอกเล่าสิ่งได้เห็น ได้ฟัง ได้สัมผัสมา เป็นต้น
·         เด็กได้ทำการทดลองใช้ไฟฉาย เช่น เปิดสวิทซ์ไฟที่กระบอกไฟ ส่องแสงไฟฉายในที่มืดจะเกิดอะไรขึ้น เป็นต้น การที่เด็กได้เป็นผู้ปฏิบัติทดลองสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ย่อมทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อเกิดการเรียนรู้
·         เด็กได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีคือไฟฉายและวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสำรวจตรวจสอบ จะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆต่อไป
·         เด็กจะเป็นผู้ที่มีความสามรถในการอธิบายสิ่งที่ค้นพบตามข้อมูลหลักฐานและองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล เนื่องจากเด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการกระทำในสภาพจริง เช่น การใช้ไฟฉายส่องผ่านในที่มืดจะเห็นวัตถุต่างๆ เพราะมีแสงจากไฟฉาย หรือแสงที่ส่องออกไปเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีระดับความร้อนแตกต่างจากแสงดวงอาทิตย์ แสงไฟฉายต้องอาศัยวัตถุที่บรรจุลงในกระบอกไฟฉายจึงจะเกิดแสง เป็นต้น
·         เด็กจะเป็นผู้มีความสามารถในการนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างชัดเจนเที่ยงตรง มีเหตุผลกับเพื่อนร่วมงาน และตอบคำถามได้ เนื่องจากได้รับการฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยมีเรื่องไฟฉายเป็นสาระนำทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่
          ทักษะสังเกต (แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แสงจากไฟฉายมีสีเหลืองอ่อน แสงไฟฉายจะสว่างหรือดับ เกิดจากคนเราเป็นผู้ กระทำบังคับสวิทช์ เปิดปิดเอง เป็นต้น)
          ทักษะจำแนกประเภท (จัดกลุ่มไฟฉายตามขนาดใหญ่ เล็ก สี รูปแบบ ฯ)
          ทักษะการวัด (วัดความยาวของกระบอกไฟฉาย นับจำนวนถ่านไฟฉาย)
          ทักษะการสื่อความหมาย (อธิบายเหตุที่เกิดแสง วาดภาพไฟฉาย และลักษณะของลำแสง)

Research


สรุปวิจัย

เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย โดย ใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ

ความมุงหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ
2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกอนและหลังการใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกตางกัน

วิธีดําเนินการวิจัย
1       การกําหนดกลุมตัวอย่าง
กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหวาง 4 - 5 ป ซึ่ง กําลังศึกษาอยูชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ไดมาจากการสุมอยางงาย โดยการจับสลาก เลือกจํานวน 1 หองเรียน จากจํานวน 2 หองเรียน และผูวิจัยสุมนักเรียนเขากลุมทดลอง จํานวน 15 คน
เครื่องมือที่ใชในการวิจัย
1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตรโดยใชสมองเปนฐานการเรียนรู (Brain - Based Learning) ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2.แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูวิทยาศาสตรสาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3.แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร

ขั้นตอนในการศึกษาคนควา
1.ขอความรวมมือกับผูบริหารโรงเรียนในการทําวิจัย
2.ชี้แจงใหครูประจำชั้นทราบรูปแบบงานวิจัย และขอความรวมมือในการดําเนินการวิจัย 
3.สรางความคุนเคยกับเด็กกลุมตัวอย่างเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห
4.กอนทําการทดลอง ผูวิจัยทําการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใชแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย
5.ดําเนินการทดลองโดยใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะระหวาง วันที่ 18 มิถุนายน 2550 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม  2550 ใชเวลาในการทดลอง 8 สัปดาหสัปดาหละ 3 วัน ไดแก วันจันทร วันพุธ และวันศุกรวันละ 30 นาที ในชวงกิจกรรมเสริมประสบการณเวลา 09.00 - 09.30 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
6.เมื่อสิ้นสุดการทดลองผูวิจัยทําการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ โดยใชแบบประเมินทักษะ กระบวนการวิทยาศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเปนแบบประเมินชุดเดียวกับที่ใช้ประเมินกอนการทดลองและนาคะแนนที่ได้จากการประเมินไปทําการวิเคราะห์ขอมูลทางสถิติิตอไป

 การวิเคราะหขอมูล ผูวิจัยดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามลําดับ ดังนี้
1.หาคาสถิติพื้นฐานแสดงคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยกอนและหลังการใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝึกทักษะ โดยใช t - test แบบ Dependent

 การศึกษาคนควาครั้งนี้ เปนการศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของ เด็กปฐมวัย โดยใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปที่ 2 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2
ตามภาพรวม เมื่อดูผลการวิเคราะหขอมูลภายในกลุมทดลองที่ใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบ ฝกทักษะวิทยาศาสตรพบวาเด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรสูงขึ้นกวากอน การทดลอง สามารถอภิปรายไดดังนี้
1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝกทักษะหลังการทดลองมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรแตกตางจากกอนการทดลอง
1.1แบบฝกทักษะวิทยาศาสตรที่นํามาใชเนนสมองเปนฐานการเรียนรู(Brain-Based Learning) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรูดังกลาว เปนกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะวทยาศาสตร์ที่่เปดโอกาสใหนักเรียนไดฝกปฏิบัติดวยตนเอง จากกิจกรรมทําใหเด็กสังเกต และเรียนรูมโนทัศนของแมลงซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้สอดคลองกับการเรียนรู้ที่จัดใหเด็กไดลงมือ กระทําไดคิดและหาคําตอบในการกระทํากิจกรรมการเรียนรูแตละกิจกรรมการคนควาหาความรูของเด็กนั้น เด็กไดเรียนรูจาก ประสบการณ์ตรงโดยการใช้ประสาทสัมผัสเขาไปสังเกตสื่อและอุปกรณตางๆและสิ่งที่คนพบจากการเรียนรูใหผูอื่นเขาใจไดผูเรียนจึงมีความสนใจใฝ่เรียนรู จากแหลงการเรียนรูนอกสถานที่ทําใหสามารถนําขอมูลที่ไดจากการสังเกตมาสนทนา พูดคุย อธิบายใหผูอื่นเขาใจไดงายและยิ่งไปกวานั้นเด็กสามารถสื่อความหมายโดยการทําชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตร์
     การจัดกิจกรรมการเรียนรู จะกระตุ้นใหเด็กแสดงออกอยางอิสระ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะนี้ เด็กไดมีโอกาสนําเสนอผลงานจากความคิดของตนเองอย่างอิสระจึงสงผลใหผูเรียนเกิดทักษะกระบวนการเรียนรูดวยตนเอง เด็กไดเรียนรูจากการทบทวนบทเรียน โดยการทําชุดแบบฝกทักษะวิทยาศาสตรที่เนนสมองเปนฐานการเรียนรู (Brain - Based Learning) เพื่อฝก ใหเด็กไดเตรียมความพรอมดานสติปญญา และทักษะตางๆ มีรูปแบบ วิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ โดยมีคําสั่งของแตละกิจกรรมตามเนื้อหาจุดประสงคของแบบฝกแต่ละเลม เด็กไดใช้ความคิดทั้งทางดาน เหตุผล และในเชิงจินตนาการอยางสรางสรรค การจัดกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะ วิทยาศาสตรที่เนนสมองเปนฐานการเรียนรู (Brain - Based Learning) ซึ่งแตละแบบฝึกจะเปิดโอกาสใหผูเรียนใชพลังสมองทั้งซีกซายและซีกขวาไปพรอมกัน จนเกิดเปนความรูความเขาใจตาม
1.2 แบบฝกสามารถถายทอดใหเด็กนำเสนอผลงานได้ซึ่งการที่เด็กไดนําเสนอผลงาน เปนการแสดงความคิดเห็นและการนําเสนอผลงานที่เปนสวนสําคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรูซึ่ง ผูวิจัยใช้เทคนิควิธีการสอนอยางหลากหลายเพื่อกระตุ้นใหเด็กแสดงออกซึ่งความคิดของตนเอง โดย ใชภาษาบรรยายออกมา ทําใหเด็กสามารถตรวจสอบความคิดเห็นของตนเองและผูอื่นได ในการจัด กิจกรรมการเรียนรูไปนอกสถานที่เปนวิธีอันหนึ่งที่ชวยผลักดันใหเขามาเกี่ยวพันกับสิ่งแวดลอม เด็กในวัยอนุบาลตองการได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆ เสียงและกลิ่นใหม่ๆ

ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการทดลองมีคาเฉลี่ยคะแนนสูงขึ้น ทุกทักษะ อยูในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และอยูในระดับดี 1 ทักษะ คือทักษะการจําแนกประเภท
    1.1 การสังเกต ในการจัดกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะนั้นเปนลักษณะของการจัดกิจกรรมที่เปดโอกาสใหเด็กได้ศึกษาค้นควาความรูด้วยตนเองเด็กเกิดกระบวนการถ่ายโยงความรู เนื่องจากเด็กเปนผูลงมือกระทําดวยการดู การสัมผัส การชิมรส  การฟงเสียง และการดม จากสื่ออุปกรณที่ครูเตรียมไวและสิ่งที่แวดลอมที่อยูรอบตัว ซึ่งเปนการเรียนรูจากสิ่งใกลตัว และสิ่งที่เด็กคุนเคยสูการ เรียนรูสิ่งไกลตัวตามลําดับ เปนการดําเนินการเรียนจากสิ่งที่งายไปสูสิ่งที่ยากขึ้นตาม ลําดับ เพื่อให เด็กไดมีโอกาสคนควาหาความรูดวยตนเอง
   1.2 การจําแนกประเภท ลักษณะการใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะมุงใหเด็กเกิดการเรียนรูจากการลงมือกระทําสืบคนหาความรูดวยตนเองโดยการเชื่อมโยงจาก ประสบการณ์เดิมประสานกับประสบการณใหมความรูอย่างตอเนื่องดวยการจําแนกเปรียบเทียบ ความเหมือน ความแตกตาง รวมกับการสังเกตอย่างถี่ถ้วนรอบคอบซึ่งเปนการสอนทักษะการจําแนก ประเภทใหแก่เด็กปฐมวัยและเปนการกําหนดเกณฑเพื่อการเปรียบเทียบตามคุณสมบัติของสิ่งตางๆ รอบตัวอย่างง่าย ดวยตัวเด็กเองหรือจากการทํากิจกรรมกลุม เพื่อการจัดระบบและจัดหมวดหมู ของการสรางความรูใหมและนําไปใช้ในชีวิตประจําวันได้
    1.3 การสื่อสาร เปนทักษะที่มีความสําคัญตอการเรียนรูและใชในการดําเนินชีวิตของโลกยุคปจจุบัน เพราะการสื่อสารจะทำใหผูสงและผูรับข้อมูลเกิดความเขาใจตรงกันอยางชัดเจน ถูกตอง และรวดเร็ว ดังนั้นการพัฒนาทักษะการสื่อสารจึงจําเปนตองเริ่มตนตั้งแต่เด็กปฐมวัย การสื่อสาร ของเด็กจะสมบูรณได เด็กตองใชการสังเกต การจําแนกประเภทร่วมดวย เนื่องจากการจัดกิจกรรม การเรียนรูประกอบชุดแบบฝกทักษะไดเนนถึงการแสดงออกและการเรียนรูแบบร่วมมือ ซึ่งเด็กจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จากแบบฝึกทักษะที่เนนสมองเปนฐานการเรียนรู (Brain - Based Learning)
  1.4 การลงความเห็น ลักษณะการใชกิจกรรมการเรียนรูประกอบชุดแบบฝึกทักษะเปน การจัดการเรียนรูทั้งรายบุคคลและรายกลุม เด็กทุกคนตองรวมกันคิดและช่วยเหลือกันในการเรียนรู กลาวคือเด็กแตละคนตองไดเรียนรูจากเพื่อน ครู จากสื่อ - อุปกรณที่ครูเตรียมไวให เพื่อที่จะนำขอมูลที่ไดมาผนวกกับความรูและประสบการณเดิม ซึ่งเด็กจะไดสรุปเปนความรูใหมขึ้นมารวมกัน ตามมโนทัศน์ของการเรียนรูในแตละวัน เนื่องจากเด็กแตละคนตางมีประสบการณ์เดิมที่แตกตางกัน


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง





วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Teaching techniques


สรุปเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูน วิทยาศาสตร์ ดุ๊กดิ๊ก bye



(14th Learning Record) วันศุกร์ ที่ 22 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2562

วันนี้มีการนำเสนอของเล่น(งานเดี่ยว) ที่บางคนยังไม่ผ่าน







จากนั้นก็นำเสนองานกลุ่มเรื่องที่แต่ละกลุ่มได้ 





กลุ่มของพวกเราได้เรื่องเสียง "ทำกลองชุดและกีตาร์"






วิธีการทำเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลูกศรชี้ลง




🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


คำศัพท์น่ารู้

1.method  วิธีการ
2.repair  การซ่อมแซม
3.reuse  การนำกลับมาใช้ใหม่
4.change เปลี่ยน
5.challenge ท้าทาย


ประเมินตนเอง ⟶ วันนี้เตรียมพร้อมในการนำเสนอของเล่นแบบกลุ่ม
ประเมินเพื่อน ⟶ วันนี้มีเพื่อนๆนำเสนองานกลุ่มได้ดีมาก
ประเมินอาจารย์ ⟶ วันนี้อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนในรายวิชานี้ อาจารย์น่ารักมากๆ



วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

(13th Learning Record) วันศุกร์ ที่ 8 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2562

วันนี้มีการนำเสนองานของเล่นวิทยาศาสตร์(งานเดี่ยว)





อุปกรณ์ในการทำ

1.ขวดน้ำ
2.ถ้วยกาแฟ
3.ถ้วยโยเกิร์ต
4.กรรไกร
5.คัตเตอร์
6.เทปกาว
7.ลูกโป่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลูกศรชี้ลง




🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼🌼


ภาพบรรยากาศในห้องเรียน




  


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


คำศัพท์น่ารู้

1.problem-solving  การแก้ปัญหา
2.suggestion  คำแนะนำ
3.compliment  คำชม
4.issue ปัญหา
5.step ขั้นตอน


ประเมินตนเอง ⟶ วันนี้ไปเรียนแต่เช้า เตรียมพร้อมในการนำเสนอของเล่น
ประเมินเพื่อน ⟶ วันนี้มีเพื่อนๆนำเสนอของเล่นน่าสนใจมาก
ประเมินอาจารย์ ⟶ วันนี้อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาระหว่างที่มีการนำเสนอของเล่น ทำให้เข้าใจเนื้อหาสาระง่ายขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

(12th Learning Record) วันศุกร์ ที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2562

วันนี้เพื่อนอีก 3 กลุ่ม ไปทำการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ภาพกิจกรรม




 กิจกรรมของเด็กๆ 




🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸


คำศัพท์น่ารู้

1.rainbow สีรุ้ง
2.animation  ภาพเคลื่อนไหว
3.toys  ของเล่น
4.warm อบอุ่น
5.exercise ออกกำลังกาย


ประเมินตนเอง ⟶ วันนี้ตื่นเต้นมากที่ได้ไปเจอเด็กๆอีก
ประเมินเพื่อน ⟶ วันนี้เพื่อนๆน่ารักทุกคนเลย เพราะทุกคนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ ⟶ วันนี้อาจารย์น่ารักมากช่วยดูแลอย่างใกล้ชิดในการทำกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม